1. สมัยก่อน พ.ศ. 2400
2. สมัยหลัง พ.ศ. 2400 - พ.ศ. 2484
3. สมัยหลัง พ.ศ. 2484 ถึงปัจจุบัน

นับเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่ประเทศไทยด้มีเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบเรียกกันว่า เครื่องยศ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านาย ขุนนาง ที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติพระราชภารกิจต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดหรือเมื่อกระทำความดีความชอบในทางราชการหรือส่วนพระองค์ เครื่องยศนี้จะเป็นสิ่งสำคัญแสดงตำแหน่งที่ลำดับยศศักดิ์ของบุคคลเหล่านั้นได้แก่ แหวน สังวาล ลูกประคำทอง พานหมากทองคำ กาน้ำ ทองคำ โต๊ะทองคำ ดาบฝักทอง ฉัตรเครื่องสูง ยานพาหนะ เครื่องนุ่งห่ม หมวก เป็นต้น ผู้ได้รับพระราชทานจะแต่งและนำเครื่องยศเข้าไปใช้ในงานสำคัญ ๆ ต่อหน้าพระที่นั่งได้ เช่น งานออกมหาสมาคม หรือที่โบราณเรียกว่าเสด็จออกใหญ่ ทั้งนี้ เครื่องแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบทั้งหลายดังกล่าวใช้สำหรับประดับกับตัวหรือนำพาไปเคียงข้างตัว ไม่ใช้ประดับกับเสื้ออย่างเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบที่เรียกว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" ตามแบบอย่างของประเทศตะวันตก หรือในรูปแบบและวิธีการประดับดังที่ปรากฏในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าวได้ว่าในบรรดาเครื่องยศเหล่านี้ซึ่งอย่างน้อยมีอยู่ 2 สิ่ง ได้แก่ สายพระสังวาล และแหวนทองคำเป็นต้นเค้าหรือหลักเกณฑ์ที่มาแห่งพัฒนาการของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของพระมหากษัตริย์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีได้มีเครื่องราชูปโภคราชาภรณ์สำหรับพระพิชัยสงครามอย่างหนึ่ง เรียกว่า พระสังวาลพระนพเป็นสายพระสังวาล ใช้สวมเฉียงพระอังสาซ้ายหรือขวา มีลักษณะเป็นสร้อยอ่อนทำด้วยทาองคำล้วนเรียงกัน 3 สาย สายหนึ่งยาวประมาณ 124 เซนติเมตร มีดอกประจำยามทำด้วยทองคำประดับนพรัตนหนึ่งดอก เมื่อมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ์ พราหมณ์จะทูลเกล้าฯ ถวายพระสังวาลนี้สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงสวมพระองค์ก่อน ที่จะทรงรับเครื่องราชอิสริยยศอื่น ๆ เป็นราชประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาสังวาลนพรัตน์ราชวราภรณ์ขึ้นอีกสายหนึ่ง เพื่อใช้ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์
กล่าวโดยสรุป ต้นกำเนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยเท่าที่มีหลักฐานปรากฏอาจนับเนื่องได้ว่ามีเค้าที่มาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือพระสังวาลพระนพ พระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ และแวนทองคำประดับพลอย 9 ชนิด นับเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับประดับเกียรติยศแต่ครั้งโบราณโดยใช้ประดับกับตัวทั้งสิ้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยสมัยหลัง พ.ศ. 2400 ถึง พ.ศ. 2484
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2411)
ทรงมีพระราชดำริสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรูปลักษณะและวิธีการประดับแบบของยุโรปเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 โดยลำดับประวัติความเป็นมาดังนี้
พ.ศ. 2400 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ดาราไอราพตเครื่องต้น และดาราตราตำแหน่ง ใช้สำหรับประดับที่อกเสื้อทำด้วยทองคำจำหลักลงยาราชาวดี ประดับเพชรพลอย โดยทรงพระราชดำรินำดวงตราตำแหน่งมาทำลายดารา ในเวลานั้นจึงมักเรียกกันว่า "ตรา" บ้าง หรือเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "เดคอเรแชน" (Decoration)
สรุปความสำคัญได้ว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 ได้ทรงเพิ่มเครื่องประดับสำหรับยศ มาเป็นดาราตราตำแหน่งสำหรับประดับกับเสื้อ นับเป็นการพัฒนาในรูปแบบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทำให้สามารถแบ่งยุคสมัยของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยได้โดยชัดแจ้ง
พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2402 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดารานพรัตนสำหรับเป็นเครื่องต้น 1 ดวง และพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์อีก 3 ดวง
พ.ศ. 2404 ทรงสร้างดราราช้างเผือกสำหรับพระราชทานผู้มียศต่าง ๆ ซึ่งเป็นคนไทยและชาวต่างประเทศที่มีความชอบ และดาราพระมหามงกุฎฝ่ายในสำหรับพระราชทานเจ้าจอมซึ่งแต่งตัวเป็นมหาดเล็กตามเสด็จฯ
พ.ศ. 2407 หลังจากที่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ทรงส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชื่อ ลีจอง ดอนเนอร์ (Legion d' Honneur) ชั้นแกรนครอส (Grand Cross) ประกอบด้วยสายสะพาย ดวงตรา และดารา มาถวายเป็นการเจริญพระราชไมตรี เมื่อจุลศักราช 1225 (พ.ศ. 2406) แล้ว จึงทรงสร้างดารานพรัตนมีลักษณะคล้ายกับดารานพรัตนเครื่องต้น มีขนาดใหญ่กว่า สำหรับถวายพระเจ้า นโปเลียนที่ 3 เป็นการตอบแทน เมื่อจุลศักราช 1266 (พ.ศ. 2407)
อนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับเครื่องผลิตเหรียญแบบฝรั่งเศสขนาดเล็ก ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียทรงส่งมาถวาย และได้ทรงสั่งซื้อเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญแทนเงินพดด้วง ที่ใช้อยู่ขณะนั้น เมื่อมีพระราชพิธีเฉลิมพระชนมายุครบ 60 พรรษาบริบูรณ์ใน พ.ศ. 2407 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นในพระราช วโรกาสดังกล่าว เรียกว่า "เหรียญเฉลิมพระชันษาครบ 60 ปีบริบูรณ์" ราษฎรทั่วไปมักเรียกกันด้วยภาษาจีนว่า "เหรียญแต้เม้ง" เป็นเหรียญตราพระมหามงกุฎมี 2 ชนิด ทำด้วยทองคำและทำด้วยเงิน พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำเป็นเครื่องประดับติดเสื้อได้ตามอัธยาศัย ซึ่งบ้างก็ทำแพรแถบห้อยเหรียญติดเสื้อแบบฝรั่ง บ้างก็ทำสายไหมห้อยเหรียญแขวนคอแบบจีน และโปรดเกล้าฯ ให้ประดับได้อย่างเหรียญตรา
เหรียญเฉลิมพระชันษาครบ 60 พรรษาบริบูรณ์
ด้านหน้า เป็นรูปพระมหามงกุฎยอดเปล่งรัศมี มีฉัตรพระหนาบสองข้าง พื้นเป็นลายกิ่งไม้
มีดาวบอกราคาอยู่ริมขอบ 32 ดวง โดยดาวดวงหนึ่งแทนราคา 1 เฟื้อง รอบวง
ขอบมีลายเกสรดอกไม้สองชั้น
ด้านหลัง เป็นลายแก้วชิงดวง มีคำว่า "กรุงสยาม" อยู่กลาง นอกลายมีอักษรจีนสี่ทิศ อ่าน
สำเนียงจีนแต้จิ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ปรับปรุง และเพิ่มเติมดารา ตราตำแหน่ง และเครื่องประดับสำหรับยศ ซึ่งให้เรียกว่า “เครื่องราชอิสริยยศ” และในที่สุดเปลี่ยนเรียกว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” มาจนปัจจุบันนี้
พ.ศ. 2411 หลังจากเสร็จงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างดาราตราตำแหน่งขึ้นสำหรับพระราชทานปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่ข้าราชการตามราชประเพณีเปลี่ยนรัชกาลใหม่มีจำนวน 4 ดวง ล้วนประดับเพชรพลอยอย่างมีค่ายิ่ง และเปลี่ยนรูปแฉกดาราจากที่เป็นรัศมีมาเป็นกลีบบัว ซึ่งได้ใช้เป็นแบบกันต่อมาจนปัจจุบัน
พ.ศ. 2412 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก คือ สายสะพายสำหรับเครื่องราชอิสริยยศสำหรับราชตระกูล นพรัตนราชวราภรณ์ และได้โปรดเกล้าฯ ให้ตรา “ระเบียบเครื่องราชอิสริยยศสยาม” ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยแบ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. เครื่องราชอิสริยยศสำหรับราชตระกูล ได้แก่ นพรัตนราชวราภรณ์
2. เครื่องราชอิสริยยศสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน มี 6 ชนิด ได้แก่ มหาวราภรณ์ มหาสุราภรณ์ จุลวราภรณ์ จุลสุราภรณ์ นิภาภรณ์ และภูษนาภรณ์
3. เครื่องราชอิสริยยศสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์และทำการช่างฝีมือดี มี 3 ชนิด ได้แก่รจนาภรณ์ ภัทราภรณ์ และเหรียญบุษปมาลา
4. เครื่องราชอิสริยยศสำหรับพระราชทานฝ่ายทหาร ได้แก่ เหรียญจักรมาลา
พ.ศ. 2416 ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยายศจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูล เนื่องในวโรกาสที่ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ 2 โดยทรงบรรลุนิติภาวะและไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตราความชอบ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนพรัตนราชวราภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม เหรียญจักรมาลา เหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญบุษปมาลารวมกัน
ตาม “ประกาศตราความชอบ” ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดังกล่าว จะได้รับประกาศนียบัตรซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “หนังสือสำคัญสำหรับดวงตรา” “คำประกาศสำหรับดวงตา” ประทับพระราชลัญจกรเป็นสำคัญด้วย การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและมงกุฎสยาม จะพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ต้องส่งคืน อีกทั้งโปรดเกล้าฯ ให้จัดลำดับเกียรติของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและมงกุฎสยาม ชั้นที่ 1 ถึง ชั้นที่ 5 สลับกันไป และให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสองตระกูลนี้ด้วยกันได้
หลังจากที่ได้ทรงแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และทรงตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2516 นี้แล้ว นับตั้งแต่นั้นมา เมื่อทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นใหม่ หรือมีการแก้ไขอย่างใด ก็จะมีพระราชบัญญัติหรือประกาศกระแสพระบรมราชโองการเป็นประเพณีสืบมา
นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ เหรียญรจนาภรณ์ ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2412 สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์ ให้ชื่อว่า เหรียญรัตนาภรณ์
พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญสตพรรษมาลา
พ.ศ. 2425 ทรงสถาปนาเครื่องขัตติยราชอิสริยยศอันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
พ.ศ. 2427 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญปราบฮ่อ
พ.ศ. 2429 โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยยศสำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไขเพิ่มเติม รัตน- โกสินทรศก 108 (พ.ศ. 2432)” เปลี่ยนการเรียกตราต่าง ๆ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “เครื่องราชอิสริยยศ” เป็น “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” และให้เรียก “หนังสือสำคัญสำหรับดวงตรา” หรือ “คำประกาศสำหรับดวงตรา” ว่า “ประกาศนียบัตร”
โปรดเกล้าฯ ให้บัญญัตินามเจ้าพนักงานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งเดิมใช้เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกบางชั้น
โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดให้มีการส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและมงกุฎสยาม เมื่อผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสูงขึ้นหรือวายชนม์ ซึ่งเดิมพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์
พ.ศ. 2434 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าเพิ่มเติม
พ.ศ. 2436 ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ อันได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม เหรียญจักรมาลา เหรียญบุษปมาลา และเหรียญรัตนาภรณ์ ยังกระจัดกระจายปะปนกันอยู่กับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อจะให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ละตระกูลมีเกียรติคุณพิเศษยิ่งขึ้นในกาลอันเป็นมหามงคลที่เสด็จถลิงถวัลยราชสมบัติมาครบ 25 ปี ใน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ละตระกูลเหล่านั้น ให้เป็นหมวดหมู่ และแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้น แล้วตราเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะแต่ละตระกูล
พ.ศ. 2438 ทรงสถาปนาเหรียญจักรพรรดิมาลา
โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ว่าด้วยสายสร้อยฯ)
โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก้ไขบางมาตราในพระราชบัญญัติเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
พ.ศ. 2440 ทรงสถาปนาเหรียญราชรุจิรัชกาลที่ 5
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญประพาสมาลา
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงสถาปนาเหรียญราชินีขึ้นโดยพระบรมราชานุญาต
พ.ศ. 2442 โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2443 โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2444 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 โดยใช้อักษาพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. แทนเหรียญรัตนาภรณ์เดิม (พ.ศ. 2416) ซึ่งเป็นรูปจุลมงกุฎ
พ.ศ. 2445 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ขึ้นอีก 2 ชั้น คือเหรียญทองและเหรียญเงิน โดยตรา “พระราชบัญญัติสำหรับเหรียญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและมงกุฎสยามรัตนโก สินทรศก 121 (พ.ศ. 2445)” ขึ้น
พ.ศ. 2446 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญทวีธาภิเศก
พ.ศ. 2447 ทรงสถาปนาเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ในวโรกาสครบ 100 ปี วันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลา
พ.ศ. 2450 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัชมงคล
พ.ศ. 2451 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัชมังคลาภิเศก
พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกขึ้นใหม่โดยทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ขึ้นอีก 1 ชั้น คือ ชั้นสูงสุด “มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก” และแก้ไขเปลี่ยนรูปและลายตราช้างเผือกเป็นอย่างปัจจุบัน
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามขึ้นใหม่ โดยมีการรวบรวมกำหนดชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญมงกุฎสยาม เป็น 7 ชั้น แก้ไขรูปและลายตรามงกุฎสยามเป็นอย่างปัจจุบัน
ตามพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามที่โปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นใหม่ดังกล่าว ได้มีการจัดลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม และเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดพระราชบัญญัติเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์เพิ่มเติม
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเพิ่มเติม
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453 – พ.ศ. 2468)
ได้ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเพร๊และวัฒนธรรมของบ้านเมืองไทยหลายสิ่งหลายประการ โดยเฉพาะในด้านศิลปะการช่างแขนงต่าง ๆ ก็ได้ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ทำนุบำรุง อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่ ตลอดจนทรงให้การอุปถัมภร์สนับสนุนศิลปินอย่างดียิ่งสำหรับเรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์และการพระราชทานเครื่งอราชอิสริยาภรณ์ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรม ประเพณีประจำสังคมไทยอย่างหนึ่ง จะเห็นได้ว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบประดิษฐ์ขึ้นอย่างงดงาม ตลอดจนปรับปรุงอัตราจำนวนของแต่ละตระกูหรือแต่ชะชนิดให้เพียงพอแก่การพระราชทาน ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ มีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชบริพารและข้าราชการ เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทาน เป็นบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ ขึ้นอีกประเภทหนึ่ง และเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษในราชการทหารอีกตระกูลหนึ่งคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
พ.ศ. 2453 ทรงสถาปนาเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6
พ.ศ. 2454 ทรงสถาปนาเหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6
ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราวชิรมาลา
ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรารัตนวราภรณ์ (ครั้งที่ 1)
ทรงสถาปนาเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 6
โปรดเกล้าฯ ประกาศแก้คำในพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและแก้ไขพระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา
โปรดเกล้าฯ แก้พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก เปลี่ยนสีริ้วสายสะพายชั้นมหาปรมาภรณ์
พ.ศ. 2455 ทรงสถาปนาเหรียญราชนิยม
โปรดเกล้าฯ แก้ไข เพิ่มเติมจำนวนอัตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอลเกล้าทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน
พ.ศ. 2456 โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนอัตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
พ.ศ. 2457 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า
พ.ศ. 2459 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน
พ.ศ. 2460 โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรารัตนวราภรณ์
(ครั้งที่ 2)
พ.ศ. 2461 ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
ทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราวัลลภาภรณ์
ทรงสถาปนาเหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป และเหรียญนารายณ์บันฤาชัย
โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรารัตนวราภรณ์
(ครั้งที่ 3)
โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามเพิ่เติม ทรงสถาปนาชั้นสูงสุดชื่อ มหาวชิรมงกุฎ และเปลี่ยนชื่อชั้นอื่นรองงมาเป็นอย่างใหม่
พ.ศ. 2463 โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราวัลลภาภรณ์
พ.ศ. 2465 โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตรารัตนวราภรณ์ฝ่ายใน
พ.ศ. 2466 โปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า
โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศการประดับสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณืช้างเผือกกับเครื่องราชอิสริยาภรณืมหาวชิรมงกุฎ โดยให้สะพายบ่าซ้ายเฉียงขวา
พ.ศ. 2468 ทรงสถาปนาเหรียญศารทูลมาลา
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2477)
พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเพียง 9 ปี และได้มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงภายในประเทศครั้งสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศครั้งสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณราญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ พระองค์ยังได้เสด็จฯ ไปรักษาพระองค์ในต่างประเทศเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงไม่ได้มีการทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใหม่ นอกจากการสร้างเหรียญราชอิสริยาภรณ์ประจำรัชกาล และเหรียญที่ระลึกที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยของพระองค์
พ.ศ. 2468 ทรงสถาปนาเหรียญบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 7
พ.ศ. 2469 ทรงสถาปนาเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7
พ.ศ. 2470 ทรงสถาปนาเหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 7
พ.ศ. 2475 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี
พ.ศ. 2476 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยสมัยหลัง พ.ศ. 2476 จนถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยสมัยหลัง พ.ศ. 2476 ถึงปัจจุบัน อยู่ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2489) และตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน) กล่าวได้ว่าเป็นยุคใหม่ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ซึ่งมีการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาทั้งด้านชื่อ รูปลักษณ์ จำนวนอัตรา วิธีการประดับ หลักเกณฑ์พระราชทาน การเรียกคืนการส่งคืน ตลอดจนการปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายต่าง ๆ ที่กี่ยวข้องให้เหมาะสมกับยุคสมัยของบ้านเมืองและสอดคล้องกับหลักสากลของประเทศตะวันตกเป็นสำคัญ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันงดงามด้วยศิลปะของไทยที่มีพัฒนาการมาแต่อดีตกาลอันยาวนาน
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล (พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2489)
แม้มีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วงรัชกาลอันสั้น แต่ก็ได้มีการปรับปรุงเครื่องราชอิสริยาภรณ์และกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยตระกูลที่สำคัญ ๆ ครั้งใหญ่ ซึ่งยังปรากฎและมีผลบังคับใช้ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2480 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 8 โดยตราพระราชบัญญัติเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 พุทธศักราช 2480
พ.ศ. 2484 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน โดยตราพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดเกี่ยวกับเหรียญเหล่านี้ตามลำดับ
โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล สำคัญ ๆ ได้แก่ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เหรียญจักรมาลา เหรียญจักรพรรดิมาลา และเหรียญราชนิยม
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน)
รัชกาลที่ 9 แห่งพระรบรมราชจักรีวงศ์ ทรงครองราชย์ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ใด ได้มีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญที่ระลึกในวโรกาสและโอกาสต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งไดมีการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหล่านั้น ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลใหม่ขึ้นไว้สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศโดยเฉพาะเป็นครั้งแรก ชื่อ “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์” สำหรับผู้ที่มิใช่ข้าราชการประจำและบุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและสังคม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์” ขึ้นอีกตระกูลหนึ่ง
ที่มา http://dop.rta.mi.th/Option.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น