วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรกของประชาชนชาวไทย



        การเลือกตั้งทั่วไปที่เกิดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ไม่อาจทำให้ประชาชนยอมรับในผลได้ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่นับได้ว่ามีการโกงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ ใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ข่มขู่ชาวบ้าน ประชาชน ให้เลือกแต่ผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลาของรัฐบาล หรือ การเวียนเทียนมาลงคะแนน การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ และต้องใช้เวลานับคะแนนกันนานถึง 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านคู่แข่งได้เพียง 5 ที่นั่ง เท่านั้น


ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพฯ จำนวน 9 ที่นั่ง นั้น
พรรคเสรีมนังคศิลา ประสบชัยชนะ 7 ที่นั่ง คือ
1.จอมพล ป. พิบูลสงคราม 5.พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
2.พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ 6.พลเอก มังกร พรหมโยธี
3.พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษดิ์ 7. พลเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ์
4.พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุทธยา


ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง คือ
1.นายควง อภัยวงศ์ 2.นาวาโท พระประยุทธช


ผลการเลือกตั้งรวมทั้งประเทศ ปรากฏว่า


พรรคเสรีมนังคศิลา ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดถึง 83 ที่นั่ง
พรรคประชาธิปัตย์ 28 ที่นั่ง
พรรคเสรีประชาธิปไตย 11 ที่นั่ง
พรรคธรรมาธิปัตย์ 10 ที่นั่ง
พรรคเศรษฐกร 8 ที่นั่ง
พรรคชาตินิยม 3 ที่นั่ง
พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค 2 ที่นั่ง
พรรคอิสระ 2 ที่นั่ง และ
ผู้สมัครอิสระไม่สังกัดพรรค 13 ที่นั่ง รวม 160 ที่นั่ง


ภายหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง การประท้วงการเลือกตั้งได้เริ่มต้นขึ้น อย่างกว้างขวาง โดยเริ่มจากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชักธงชาติลงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยการเลือกตั้ง ได้เริ่มต้นขึ้น จากนั้นนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยการศึกษา ฯลฯ และประชาชนได้รวมตัวกันประท้วงการเลือกตั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมา รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ในวันที่ 2 มีนาคม 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เดินทางมาที่จุฬาลงกรณ์เพื่อกล่าวปราศรัยและรับทราบความไม่พอใจของนิสิต นักศึกษาและประชาชน นิสิตได้ขออนุญาตจอมพลสฤษดิ์เดินขบวนประท้วง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์อนุญาต ทำให้จอมพลสฤษดิ์เริ่มได้รับความนิยมจากนิสิตนักศึกษาและประชาชนมากขึ้น ในขณะที่ความนิยมของจอมพล ป.และพลตำรวจเอก เผ่า นั้นเริ่มเสื่อมความนิยมตกลงอย่างรวดเร็ว


ไม่แต่เพียงปัญหาทางการเมืองเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์ยังคงไม่ราบรื่น นับแต่ การรัฐประหาร 2494 และการร่างรัฐธรรมนูญ 2495 ที่ไม่ถวายอำนาจให้พระมหากษัตริย์เข้ามามีบทบาทการเมืองตามรัฐธรรมนูญเท่า นั้น แต่ในปี 2496 พระมหากษัตริย์และรัฐบาลยังขัดแย้งกันเรื่องกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน โดยรัฐบาลมุ่งจำกัดการถือครองที่ดินขนาดใหญ่และช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย แต่ทว่าการปฏิรูปที่ดินนี้ องคมนตรีไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่าไทยไม่ได้ขาดแคลนที่ดินถึงขนาดต้อง ปฏิรูปที่ดิน พระมหากษัตริย์ทรงเห็นด้วยกับองคมนตรีและทรงชะลอการการลงพระนามประกาศใช้ กฎหมาย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงยืนยันความจำเป็นของกฎหมายฉบับนี้ ท้ายสุดพระองค์ก็ยอมลงพระนามประกาศใช้กฎหมาย อีกทั้ง ในปี 2500 ทรงไม่เสด็จเข้าร่วมงานการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เนื่องจากพระองค์ไม่พอพระทัยการจัดการที่ทำให้รัฐบาลกลายเป็นศูนย์กลางของงานแทนที่จะเป็นพระองค์ ทรงเห็นว่า จอมพล ป. "เมาอำนาจ" และมีความประสงค์จะเป็น "พระมหากษัตริย์องค์ที่สอง"
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้มีอำนาจทั้งสามนั้น จอมพล ป. เป็นกลุ่มที่อยู่ในฐานะลำบากที่สุด เนื่องจากไม่มีฐานกำลังเป็นของตนเอง แต่สิ่งที่จอมพล ป.ทำคือ การใช้สองกลุ่มคานอำนาจกันเอง และอีกด้านหนึ่ง คือ การแสวงหาแรงสนับสนุนจากประชาชนด้วยการเปิดให้มีบรรยากาศแบบ[ระบอบ ประชาธิปไตย|[ประชาธิปไตย]] เช่น มีการไฮปาร์ค ให้มีพรรคการเมือง มีการเลือกตั้ง และการพยายามดึงนายปรีดี พนมยงค์ซึ่งได้หลบหนีออกนอกประเทศไปภายหลังการรัฐประหาร 2494และ ต่อมาถูกโจมตีว่าอยู่เบื้องหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอา นันทมหิดลให้กลับมาประเทศไทยเพื่อรื้อฟื้นคดีการสวรรคตขึ้นมาใหม่ ความคิดที่จะกลับไปคืนดีกับนายปรีดีนี้มาจากความรู้สึกว่า รัฐบาลมีแนวโน้มไม่มีเสถียรภาพ เพราะจอมพล ป. เห็นว่า จอมพลสฤษดิ์ มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม
ความคิดของจอมพล ป.การหาทางให้นายปรีดีเดินทางกลับมาไทยนี้ ในช่วงแรกพล.ต.อ.เผ่าไม่สู้จะเห็นด้วยนักกับความคิดนี้ แต่จอมพล ป. สามารถหว่านล้อมจนพล.ต.อ.เผ่าเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว ต่อมา จอมพล ป.ได้เคยกล่าวกับนายปาล พนมยงค์ บุตรชายคนโตของนายปรีดี หลังนายปาลได้รับนิรโทษกรรมความผิด และได้มาขอลาบวชกับจอมพล ป. ในเดือนมิถุนายน 2500 ที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ โดยจอมพล ป.ฝากข้อความไปยังนายปรีดีว่า "บอกคุณพ่อของหลานด้วยนะว่า ลุงอยากให้กลับมาช่วยลุงทำงานให้ชาติ ลุงคนเดียวสู้ศักดินาไม่ไหวแล้ว" จนกระทั่งน่าจะถึงฟางเส้นสุดท้ายระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์และกลุ่ม อนุรักษ์-กษัตริย์นิยม คือ การรื้อฟื้นคดีสวรรคตด้วยการนำนายปรีดี กลับจากจีนมาไทย ต่อมาหลักฐานจากสถานทูตสหรัฐฯได้รายงานถึงความพยายามของกลุ่มอนุรักษ์ -กษัตริย์นิยมในการแทรกแซงการเมืองและมุ่งโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.
        2 มีนาคม นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง มีการลดธงเหลือแค่ครึ่งเสาเป็นการไว้อาลัย จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี สั่งประกาศภาวะฉุกเฉิน และแต่งตั้งให้ พล.อ.สฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว พล.อ.สฤษดิ์กลับเข้าร่วมเดินขบวนกับประชาชนด้วย และเมื่อถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อได้เจรจาจนได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่านโทรโข่งขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ พล.อ.สฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรกของประชาชนชาวไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
  • สภาพโดยทั่วไปแล้วในเวลานั้น สภาพบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะของความวุ่นวาย นักเลง อันธพาล อาละวาดป่วนเมืองราวกับไม่เกรงกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ที่เหล่าอันธพาลสามารถกระทำการได้โดยได้ใจนั้น เป็นเพราะมีตำรวจ โดย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจให้การสนับสนุนอยู่ และจากนั้นมา ทหารและตำรวจก็เกิดความแตกแยกกัน โดยไฮปาร์คโจมตีกันบนลังสบู่ที่ท้องสนามหลวงสลับกันวันต่อวัน ในบางครั้ง ทหารชั้นประทวนก็ยกพวกล้อมสถานีตำรวจจนเกิดเหตุทำร้ายร่างกายตำรวจบ้าง แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงมากไปกว่านั้น14 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 60 ปี ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม พล.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าอวยพรวันเกิดและนำลูกสุนัขตัวหนึ่งมอบให้เป็นของขวัญ พร้อมกล่าวว่าจะจงรักภักดีต่อจอมพล ป. เช่นเดียวกับสุนัขตัวนี้ เพื่อเป็นการสยบความขัดแย้ง
  • 15 กันยายน พล.อ.สฤษดิ์ และคณะนายทหารในบังคับบัญชา ได้มีแถลงการณ์ขอให้ จอมพล ป. ลาออก และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ลาออกจากตำแหน่งทั้งหมด ซึ่งหลังจากแถลงการณ์อันนี้ออกมาแล้ว มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่า สมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาเสนอให้ จอมพล ป. จัดการอย่างเด็ดขาดกับ พล.อ.สฤษดิ์ และกลุ่มทหารในวันพรุ่งนี้ เท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ พล.อ.สฤษดิ์ ตัดสินใจอย่างแน่นอนในการทำรัฐประหารเพื่อเป็นการตัดหน้า
ที่มา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น