วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

10 ธันวาคม วันพระราชทานรัฐธรรมนูญของไทย

            ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕


นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่ใช้กันมาเป็นเวลา ๗๐๐ กว่าปี มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องมาจาก
๑ .พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชประสงค์ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เกิดภาวะวิกฤทางเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงปลดข้าราชการออกเ พื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
๓.อิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก เกี่ยวกับทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มสาว ต้องการความเปลี่ยนแปลง
๔. รัฐบาลได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับภาษี ได้แก่ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
โดยการปฏิวัติ จากคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ นอกจากนี้ ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕  ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว หรือที่เรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว และสาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ คือ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ได้แก่ พระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร และศาล
และถึงแม้ว่าประเทศไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์ ยังเป็นประมุขของประเทศ
เป็นสถาบันที่มีการสืบราชสมบัติ ต่อกันไปในราชวงศ์ ดังนั้น การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่ง เป็นผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการ โดยได้รับความยินยอม จากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ และมีสถาบันที่เกิดใหม่ คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติ ในการออกกฎหมายต่าง ๆ เมื่อพระมหากษัตริย์ ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับใช้ ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ในระยะแรก ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุด ในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการ ยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร
ทางราชการจึงได้กำหนดให้วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหลักการที่ต่างกับฉบับแรก ในวาระสำคัญหลายประการ เช่น ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น การปกครองแบบระบอบรัฐสภา เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุข ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน
แต่ทั้งนี้คณะรัฐมนตรี จะต้องรับผิดชอบ ในการบริหารราชการแผ่นดิน ต่อสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น
แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรี ในการบริหารราชการแผ่นดินด้วย อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาล ก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ หากเห็นว่ามีการดำเนินการที่จะเป็นภัย หรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ ที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภา ที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติไว้ว่า พระมหากษัตริย์ ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงปัจจุบัน
รัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
ที่จะเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนให้กับสังคม และเนื่องใน วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ที่จะถึงนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทย ร่วมกันระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ที่ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ให้แก่ประชาชนชาวไทย ด้วยการสร้างความสมานฉันท์ ความรัก ความสามัคคี และความเป็นประชาธิปไตย ให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติ
เพื่อร่วมกันฟันฝ่าปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างคนไทยด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
พร้อมทั้งปลูกฝังเรื่องประชาธิปไตย ให้แก่เด็กและเยาวชน ที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติต่อไป ดังพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงกล่าวไว้ว่า
Cquote1.svg
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจ อันเปนของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า ให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
Cquote2.svg



ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น