วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ศักดินาคืออะไร

          ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง


ทำไมจึงต้องมีการกำหนดศักดินา  
          ในสมัยก่อน ถือว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร   โปรดสังเกต คำว่า พระเจ้าแผ่นดิน ราชอาณาจักร  มีนัยอยู่ในคำ ๆ นี้แล้ว คือถือว่า  ทรงเป็นเจ้าเหนือแผ่นดิน เป็นอาณาจักรของพระราชา   คำว่ากษัตริย์  ก็มาจากคำว่า เกษตร (สันสกฤต  บาลี ใช้ เขต) ก็เกี่ยวกับที่ดิน  การเพาะปลูกเช่นกัน
สังเกตว่าคนเราแต่ก่อนให้ความสำคัญกับที่ดิน  การถือครองที่ดิน  เพราะเป็นสังคมเกษตรกรรม  ความอยู่ดีกินดีรุ่งเรืองยากจนของประเทศก๋ขึ้นกับสังคมเกษตรกรรม  โดยข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ ยังไม่มีเงินเดือนอย่างสมัยนี้   จะมีก็เป็นเบี้ยหวัดเงินปี  (บางยุค  ที่เศรษฐกิจตกต่ำ ไม่อาจจ่ายเงินปีให้ข้าราชการได้  ต้องจ่ายเป็นผ้าก็มี) จึงใช้วิธีพระราชทานที่ดินให้มากน้อยตามฐานะ  ยศศักดิ์  ถาถามว่าทำไมต้องดูฐานะ  ก็ต้องบอกว่า  คนมีฐานะ ยศ สูง ย่อมมีบารมีมาก  มีข้า มีบริวารมาก  จึงมีกำลัง(แรงงาน)ในการเพาะปลูกทำมาหากินได้มากกว่า  สรุปว่า ศักดินา คือ พิกัด หรืออัตรากำหนดว่าคนยศศักดิ์ใคจะมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่นาเท่าใด   ในสำนวนไทย  คุณอาจเคยได้ยิน คำว่า พระยานาหมื่น  หรือ ขายหน้าทั้งห้าไร่  อะไรพวกนี้  สำนวนเหล่านี้ก็มีที่มาจากระบบศักดินา (ศักดิ์ในการครอบครองที่นา) ในอดีต  ขายหน้าห้าไร่ 5 ไร่ คือ ศักดินาของประชาชนทั่วไป  แต่ว่ากันจริง ๆ แล้วจะราษฎรหรือขุนนางก็ไม่ได้มีที่ดินไว้ในครอบครองตามที่กำหนดเป๊ะ  ๆ   อ้าว  งั้นจะตรากฎหมายไว้ทำไม  ก็ตราไว้เพื่อถือเป็ยข้อกำหนดผูกพันในกฎหมายอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการปกครอง  เช่น กฎหมายลักษณะพระอัยการ  กฏหมายบทลงโทษปรับไหม  ก็ให้ลงโทษตามศักดินา  เช่น ไพร่ทำผิด  ก็ปรับหรือลงโทษตามศักดินาไพร่  ขุนนางทำผิดก็ลงโทษแรงขึ้นตามศักดินาขุนนาง  ถ้าไร่ผิดต่อไพร่  ปรับตามศักดินาไพร่  ไพร่กับนายมีคดีกันให้ถือปรับหรือลงโทษตามศักดินาที่สูงกว่า 
 เช่น
1 การปรับไหม การกระทำผิดอย่างเดียวกัน ถ้ามีศักดินาสูงกว่า จะเสียค่าปรับมากกว่ามีศักดินาต่ำกว่า หรือการปรับไหมให้แก่กันในคดีเดียวกัน ถ้าไพร่ผิดต่อไพร่ จะเสียค่าปรับตามศักดินาไพร่ ถ้าไพร่ทำผิดต่อขุนนาง ให้เอาศักดินาขุนนางมาปรับไพร่ ถ้าขุนนางผิดต่อไพร่ ให้ปรับตามศักดินาของขุนนาง
2 การตั้งทนายแก้ต่าง ผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ ขึ้นไป จะแต่งตั้งทนายว่าความแทนตนเองได้ ต่ำกว่านั้นลงมาต้องแก้ต่างให้ตนอง
3 กำหนดที่นั่งในการเข้าเฝ้า เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน ผู้มีศักดินา 10,000 ถึง 800 ต้องเข้าเฝ้า นอกนั้นไม่บังคับ ตำแหน่งที่นั่งจะสูงต่ำ ใกล้หรือไกลให้จัดตามศักดินา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น